krusompop

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เกี่ยวกับรายวิชาเครื่องสายไทย 1 การฝึกหัดซอด้วงและซออู้เบื้องต้น

วันพุธ

การบรรเลงรวมวงเพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว


การฝึกปฏิบัติซออู้เพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว





๔.ฝึกปฏิบัติซออู้เพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว


วัตถุประสงค์ในการฝึก
๑.เพื่อฝึกการใช้คันชักหนึ่ง
๒.เพื่อฝึกลงนิ้วให้สัมพันธ์กันตามทำนองเพลง
๓.เพื่อฝึกการใช้น้ำหนักมือและการกดนิ้วให้ชัดเจน
๔.เพื่อฝึกแนวจังหวะในการบรรเลงทำนองเพลงอย่างต่อเนื่อง
๕.เพื่อฝึกการจำทำนองเพลงในการบรรเลง

คำแนะนำวิธีการฝึก
๑.สังเกตตัวโน้ตที่มีจุด (.) อยู่ด้านบน ดํ , รํ คือ ตัว “โดสูง” และ “เรสูง” อยู่ในสายเอก
๒.ให้ฝึกปฏิบัติครั้งละ ๔ ห้องเพลงโดยเริ่มฝึกห้องที่ ๑ – ๔ ฝึกสีหลายๆ เที่ยวจนเกิดความชำนาญ ต่อไปให้ฝึกห้องที่ ๕ – ๘ ฝึกสีหลาย ๆ เที่ยวจนเกิดความชำนาญเช่นเดียวกัน
๓.ฝึกบรรเลงห้องที่ ๑ – ๘ อย่างต่อเนื่อง ฝึกสีหลายๆ เที่ยวจนเกิดความชำนาญและสามารถจำโน้ตได้ ฝึกปฏิบัติเช่นนี้ไปจนจบเพลง
๔.สีให้ถูกต้องตามตัวโน้ตและจังหวะในแต่ละห้องเพลง
๕.ฝึกไล่มือโดยบรรเลงทำนองเพลงซ้ำ หลายๆ รอบจนเกิดความชำนาญ


๓. ทำนองหลักเพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว

วัตถุประสงค์ในการฝึก
๑.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและคุ้นเคยกับทำนองหลักของเพลง
๒.เพื่อฝึกปฏิบัติทำนองหลักของเพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว

คำแนะนำวิธีการฝึก
๑.การปฏิบัติซออู้ให้ใช้คันชักตามลักษณะโน้ตในแบบฝึกทักษะเบื้องต้น
๒.ในกรณีที่โน้ตทำนองหลักไม่ใช่คู่ ๘ คือ โน้ตบรรทัดบนและบรรทัดล่างไม่ใช่เสียงเดียวกัน ให้ผู้เรียนสังเกต ดังนี้


เพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว



หัวเรื่อง
๑.ประวัติเพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว
๒.ศัพท์สังคีต คำว่า “จังหวะ” และคำว่า “กลับต้น”
๓.ทำนองหลักเพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว
๔.ฝึกปฏิบัติซออู้เพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว
๕.บันทึกโน้ตเพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว
๖.การบรรเลงรวมวงเพลงแขกบรเทศชั้นเดียว

แนวคิด
๑.เพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว เป็นเพลงทางเก็บ มีโน้ตเต็ม คือ ในหนึ่งห้องเพลงมีโน้ต ๔ ตัว เพลงนี้มีความยาวไม่มากนัก ง่ายต่อการจำ จึงเหมาะสำหรับใช้ในการฝึกปฏิบัติเบื้องต้น
๒.ทำนองเพลงทุกเพลงมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ จังหวะ จังหวะจะดำเนินไปด้วยเวลาอันสม่ำเสมอ ทุก ๆ ระยะ จังหวะในดนตรีไทย แยกออกได้เป็น ๓ อย่าง คือ จังหวะสามัญ จังหวะฉิ่งและจังหวะหน้าทับ
๓.กลับต้น หมายถึง การร้องหรือบรรเลงซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
๔.ทำนองหลัก คือ ทำนองทางฆ้องวงใหญ่ที่ใช้เป็นหลักของเพลงนั้น ๆ การที่นักดนตรีทุกคนมี “ทำนองหลัก” อันเดียวกันจะทำให้การบรรเลงของวงดนตรีมีความกลมกลืนกันได้ดี
๕.โน้ตเพลง เป็นเครื่องช่วยในการจำและช่วยประหยัดเวลาในการฝึกปฏิบัติได้อย่างดี
๖.การบรรเลงรวมวง คือ การนำเอาเครื่องดนตรีหลายๆ ชนิดมาบรรเลงรวมกัน ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองและเครื่องประกอบจังหวะ ดำเนินทำนองในแนวจังหวะเดียวกันภายใต้กรอบและกฎเกณฑ์ทางดุริยางค์ไทยและลักษณะของบทเพลงที่ผู้แต่งกำหนด
๗.หลักการบรรเลงรวมวง ที่สำคัญต้องมีความพร้อมเพรียง การช่วยเหลือกัน รู้ทีท่าของการดำเนินงานที่ต้องประสานกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน รู้หน้าที่ของตนเอง และที่สำคัญต้องเชื่อฟังผู้ปรับวง และมั่นอยู่ในสามัคคีในอันที่จะทำให้การบรรเลงนั้นสำเร็จไปด้วย


วัตถุประสงค์
๑.อธิบายประวัติเพลงแขกบรเทศ ได้
๒.อธิบายศัพท์สังคีต คำว่า “จังหวะ” และคำว่า “กลับต้น” ได้
๓.ปฏิบัติทำนองหลักเพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียวตามโน้ตเพลงได้
๔.ปฏิบัติซออู้เพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียวได้
๕.บันทึกโน้ตเพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียวได้
๖.ปฏิบัติการบรรเลงรวมวงเพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียวได้
_____________________________________

๑.ประวัติเพลง


เพลงนี้เป็นเพลงที่รวมอยู่ในประเภทเพลงสองไม้ และเพลงเร็วมาแต่โบราณ ใช้ร้องรับดนตรีและใช้ร้องประกอบการแสดงเป็นที่แพร่หลาย เพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าครูท่านใดเป็นผู้แต่ง
เพลงแขกบรเทศ ชั้นเดียว ใช้หน้าทับปรบไก่ ชั้นเดียว ตีประกอบเพลง
______________________________________

๒.ศัพท์สังคีต คำว่า “จังหวะ” และ “กลับต้น”

ศัพท์สังคีต หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้ในความหมายของการขับร้องและการบรรเลง ซึ่งผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการขับร้องและการบรรเลงทุกคนควรจะต้องรู้และศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้อย่างถูกแบบแผน
จังหวะ
“จังหวะ” หมายถึง การแบ่งส่วนย่อยของทำนองเพลง ซึ่งดำเนินไปด้วยเวลาอันสม่ำเสมอ ทุก ๆ ระยะของส่วนที่แบ่งนี้ คือ จังหวะ
จังหวะที่ใช้ในการดนตรีไทย แยกออกได้เป็น ๓ อย่าง คือ
๑)จังหวะสามัญ หมายถึง จังหวะทั่วไปที่จะต้องยึดถือเป็นหลักสำคัญของการขับร้องและบรรเลง ถึงแม้จะไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องให้สัญญาณจังหวะ ผู้ขับร้องหรือผู้บรรเลงก็ต้องมีความรู้สึกอยู่ในใจตลอดเวลา จังหวะสามัญนี้อาจแบ่งลงไปได้เป็นขั้นๆ แต่ละขั้นจะใช้เวลาสั้นลงครึ่งหนึ่งเสมอไป
ผู้ขับร้องและผู้บรรเลงดนตรีจะยึดถือเอาจังหวะขนาดไหนเป็นสำคัญก็แล้วแต่ความเหมาะสมของลักษณะเพลงนั้นๆ
๒)จังหวะฉิ่ง เป็นการแบ่งจังหวะด้วยเสียงที่ตีฉิ่ง เพื่อให้รู้จังหวะเบาและจังหวะหนัก โดยปกติฉิ่งจะตีสลับกันเป็น “ฉิ่ง” ที่หนึ่ง “ฉับ” ที่หนึ่ง ฉิ่งเป็นจังหวะเบา และฉับเป็นจังหวะหนัก ส่วนจะใช้จังหวะถี่หรือห่างอย่างไรก็แล้วแต่ลักษณะของเพลง
๓) จังหวะหน้าทับ คือ การถือหน้าทับเป็นเกณฑ์นับจังหวะ หมายความว่า เมื่อหน้าทับตีจบไปเที่ยวหนึ่งก็นับเป็น ๑ จังหวะ ตีจบไป ๒ เที่ยวก็นับเป็น ๒ จังหวะ แต่ถือหน้าทับเอาหน้าทับปรบไก่ ๒ ชั้น เป็นเกณฑ์ในการกำหนดนับจังหวะ ว่าเพลงนั้นขาดหายไปหรือไม่ครบจังหวะ
กลับต้น
“กลับต้น” หมายถึง การร้องหรือบรรเลงซ้ำอีกครั้งหนึ่ง บางทีก็เรียกว่า “กลับ” และบางทีก็เรียกว่า “ย้อน” (หรือย้อนต้น)

__________________________________________________________

วันจันทร์

เปลี่ยนแปลงชื่อเว็บไซต์

แจ้งการเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ของวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง
จาก
http://www.cdaat.bpi.ac.th เปลี่ยนเป็น http://cdaat.bpi.ac.th/
เนื่องจากสถาบันต้นสังกัดเปลี่ยนมาให้ใหม่ครับ

วันพฤหัสบดี

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
25/2 ม.5 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ, จ.พระนครศรีอยุธยา, Thailand
มีความฝันอยากเป็นครูตั้งแต่เด็กๆ มีโอกาสเข้ามาเรียนดนตรีไทยตั้งแต่ ป.5 ที่โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุกูล ได้เข้าศึกษาชั้น ม. 1 ณ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จนสอบบรรจุได้ที่นี่ครับ ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กำลังศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม