เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เกี่ยวกับรายวิชาเครื่องสายไทย 1 การฝึกหัดซอด้วงและซออู้เบื้องต้น

วันพุธ

ประวัติความเป็นมาของซอด้วง







ประวัติที่มาของซอด้วงและซออู้
จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏข้อความในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราไว้ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ในกฎมณเฑียรบาลตอนที่ 15 และ 20 อันเป็นบทบัญญัติกำหนดโทษแก่ผู้ที่เล่นดนตรีเพลิดเพลินเกินขอบเขตเข้าไปถึงพระราชฐานขณะล่องเรือผ่านนั้น ปรากฏมีชื่อเครื่องดนตรีระบุไว้ ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ ซอ จะเข้ กระจับปี่ โทน ทับ
ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้บันทึกไว้ว่า “ขบวนเรือยาวที่แห่มารับตัวท่านและคณะว่ามีเสียงเห่ เสียงโห่และเสียงดนตรีประเภทกระจับปี่สีซอดังกึกก้องไพเราะไปทั่วคุ้งน้ำ...”
จะเห็นได้ว่า ในกฎมณเฑียรบาลและในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้มีการกล่าวถึง “ซอ” ไว้อย่างชัดเจน แต่เสียดายที่ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเป็นซออะไร

1. ประวัติที่มาของซอด้วง
ซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มี 2 สาย เกิดเสียงจากการใช้คันชักสี ใช้บรรเลงในวงดนตรีไทยประเภทต่างๆ เช่น วงเครื่องสายไทย วงมโหรีและการบรรเลงเดี่ยว ทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและดำเนินทำนองในแนวระดับเสียงสูงคู่กับซออู้ที่ดำเนินทำนองในระดับเสียงต่ำ
ลักษณะของซอด้วงนั้นมีลักษณะคล้ายซอของประเทศจีนที่มีชื่อว่า “ฮู-ฉิน” ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า “ซอด้วง” ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกัน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั่นเอง




ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
25/2 ม.5 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ, จ.พระนครศรีอยุธยา, Thailand
มีความฝันอยากเป็นครูตั้งแต่เด็กๆ มีโอกาสเข้ามาเรียนดนตรีไทยตั้งแต่ ป.5 ที่โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุกูล ได้เข้าศึกษาชั้น ม. 1 ณ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จนสอบบรรจุได้ที่นี่ครับ ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กำลังศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม