เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เกี่ยวกับรายวิชาเครื่องสายไทย 1 การฝึกหัดซอด้วงและซออู้เบื้องต้น

วันพฤหัสบดี

ส่วนประกอบซอด้วง

1. ส่วนประกอบของซอด้วง
1) โขน ส่วนที่อยู่บนสุดของทวนบน
2) ทวนบน คือ ส่วนบนของคันทวนตั้งแต่กลีบบัวขึ้นไปจนสุด
3) คันซอ คันทวน คือ คันชักที่กลึงกลมตั้งแต่ใต้บัวลงมาถึงกระบอกซอ ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้มะเกลือ เป็นต้น
4) ลูกบิด ส่วนที่เป็นแกนไม้เสียบในแนวขวางของคันซอเพื่อใช้พันสายซอและบิดสายปรับเสียง
5) รัดอก อยู่ตรงกลาง รัดอกจะรัดสายซอทั้งสองเข้ากับคันซอ วัสดุที่ใช้ทำรัดอกควรใช้สายเอกซอด้วง ความกว้างของรัดอกที่เหมาะสม คือประมาณ 0.5 ซ.ม. ระยะของรัดอกระหว่างคันทวนถึงสายซอประมาณ 2 ซ.ม. ขอบบนของรัดอกซอ อยู่ห่างจากบัวประมาณ 5 เซนติเมตร
6) กระบอกซอ คือส่วนที่เป็นกล่องเสียง กลึงให้กลม ข้างในคว้านให้กลวง ทำด้วยไม้เนื้อเข็งเช่นเดียวกับคันทวน หน้าซอ ทำจากหนังงูเหลือมขึงหน้ากระบอกซอ ก้านคันชัก หรือบางทีเรียกว่า “คันสี” ทำด้วยไม้เนื้อแข็งชนิดเดียวกับคันทวน มีลักษณะกลึงกลมให้เป็นคันคล้าย ๆ คันศร ความยาวประมาณ 74 เซนติเมตร ก้านคันชักนี้ต้องมีหางม้าขึงตึงประกอบด้วย
7) หางม้า ที่เรียกว่า “หางม้า” ก็เพราะนำเอาหางม้าจริงๆ มาใช้ทำคันชักซอ แต่ในปัจจุบันหางม้าจริงๆ มีราคาแพง จึงหันมาใช้ไนล่อนแทนหางม้า ไนล่อนนี้ทำขึ้นเป็นเส้นละเอียดเหมือนหางม้า แต่ไม่มีปุ่มเล็กๆ เหมือนหางม้าจริงๆ จึงทำให้ลื่น ฉะนั้นจึงต้องใช้ยางสนถูไปมาที่ไนล่อนเพื่อให้เกิดความฝืดเวลาสีซอจะทำให้เกิดเสียงดัง จำนวนเส้นของหางม้าหรือไนล่อนนี้ ไม่น้อยกว่า 250 เส้น
8) หมุดยึดหางม้า เป็นหมุดที่ใช้ยึดตรึงหางม้าไว้กับก้านคันชักให้ตึง นิยมทำด้วยไม้ โลหะและงาช้าง
9) สายซอ ทำด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว มี 2 สาย สายทุ้ม (สายใหญ่) สายเอก (สายเล็ก) ทั้งสองสายนี้พาดอยู่บนหมอน ระยะห่างระหว่างสายห่างกันประมาณ 0.5 ซ.ม.
หากจำเป็นต้องใช้สายเอ็นให้ใช้เบอร์ 70 แทนสายเอก และเบอร์ 90 แทนสายทุ้ม
คันซอหรือคันทวน คือ คันส่วนที่กลึงกลมตั้งแต่ใต้กลีบบัวลงมาถึงกะโหลกซอ ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ฯ
10) หน้าซอ คือ ส่วนที่ขึงตึงกับกระบอกซอ ทำหน้าที่ถ่ายทอดความสั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียง นิยมทำด้วยหนังงูเหลือม
11) ก้านคันชัก หรือบางทีเรียกว่า “คันสี” ทำด้วยไม้เนื้อแข็งชนิดเดียวกับคันทวน มีลักษณะกลึงกลมให้เป็นคันคล้าย ๆ คันศร ความยาวประมาณ 74 เซนติเมตร ก้านคันชักนี้ต้องมีหางม้าขึงตึงประกอบด้วย
12) หย่อง คือ ไม้เล็กๆ ที่รองรับสายซอทั้งสองสาย วางอยู่บนหน้าซอ มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความสั่นสะเทือนจากสายสู่หน้าซอ

2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

มองไม่ค่อยออกเลยครับคำมันมองยากมาก

Waku Waku กล่าวว่า...

ซ่ายเลยต่ะแม่นเบย

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
25/2 ม.5 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ, จ.พระนครศรีอยุธยา, Thailand
มีความฝันอยากเป็นครูตั้งแต่เด็กๆ มีโอกาสเข้ามาเรียนดนตรีไทยตั้งแต่ ป.5 ที่โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุกูล ได้เข้าศึกษาชั้น ม. 1 ณ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จนสอบบรรจุได้ที่นี่ครับ ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กำลังศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม